รถAGV
รถ AGV ถือเป็น mobile robotที่เคลื่อนที่เองโดยไม่ต้องมีคนขับถูกนํามาใช้งานจริงในอุตสาหกรรมครั้ง
แรกเมื่อปี ค.ศ. 1953 ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตอนนั้นถูกนํามาใช้ขนถ่ายสินค้าในโกดังเก็บสินค้าทําให้สามารถประหยัดในเรื่องของแรงงานคนและเวลาได้เป็นอย่างดี
รถAGVสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานหลักๆ ได้ 3 ประเภท คือ 1. แบบ Driverless trains ใช้สําหรับขนส่งเป็นจํานวนมากทําหน้าที่เป็นเหมือนหัวรถไฟ 2. แบบ Pallet trucks หรือ Forklift truck สําหรับขนส่งในแนวดิ่ง หรือทําหน้าที่ยกสินค้าเก็บในที่สุง ลักษณะการทํางานเหมือนรถโฟคลิฟท์
3. แบบ Unit load carriers สําหรับขนส่งชิ้นส่วนระหว่างไลน์การผลิต
ซึ่งจะเลือกใช้ แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
เมื่อเราทราบประเภทของรถAGVแล้วก็ต้องทราบถึงปัจจัยในการเลือกใช้และออกแบบด้วยซึ่ง
ประกอบด้วยปัจจัยสําคัญมีอยู่ 5 ข้อ รูปที่3 ตัวอย่างรถAGVแบบForklift truckและแบบUnit load carriers 1. พื้นที่
ในที่นี้หมายถึงพื้นที่จํากัดไหม สามารถออกแบบโดยไม่ต้องคํานึงเลยหรือมีพื้นที่จํากัด
วงเลี้ยว แคบหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องนําไปคํานึงถึงในขั้นตอนการออกแบบโครงสร้าง,
ความเร็วของรถ AGV(มอเตอร์)
และรัศมีการเลี้ยวของรถAGV 2. น้าหนัก ซึ่งจะรวมน้ำหนักสูงสุดของชิ้นงานที่เราจะบรรทุกรวมน้ำหนักของตัวรถด้วยเพื่อนําไปคํานวน
ออกแบบโครงสร้างในการรับน้ำหนัก และขนาดทอร์กของมอเตอร์ 3. ปริมาณ
ในบางงานน้ำหนักที่ต้องบรรทุกอาจไม่มาก แต่ขนาดของชิ้นงานอาจมีขนาดใหญ่ อาจจะไม่ เหมาะสมกับการบรรทุก
แต่ต้องลากแทนดังนั้นการออกแบบโครงสร้างจึงต้องคํานึงถึงจุดนี้ด้วย 4. ต้นทุน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จําเป็น ซึ่งรถAGV สามารถสร้างได้ตั้งแต่ต้นทุนหลักหมื่นจนถึงล้านได้เลย
ขึ้นอยู่กับวัสดุอุปกรณ์ชนิดของเซ็นเซอร์ชนิดของมอเตอร์อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
และอื่นๆ 5. เวลา เป็นอีกปัจจัยที่จะส่งผลต่อต้นทุน
เพราะเมื่อเราต้องการความเร็วขนาดและชนิดของอุปกรณ์ เช่น
มอเตอร์จะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือโครงสร้างจะต้องมีน้ำหนักเบา
และยังส่งผลไปถึงการทําการ ออกแบบโปรแกรม
เช่นหากไม่จํากัดเวลาก็เลือกใช้มอเตอร์ตัวเล็กแล้วทดเกียร์ให้ทอร์กสูงขึ้นซึ่งการ
1. Structure หรือโครงสร้างของรถAGV การออกแบบก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะขนส่งอะไร น้ำหนักเยอะไหม ขนาดใหญ่แค่ไหน
จะเคลื่อนย้ายแบบไหน บรรทุก หรอลาก ื พื้นที่ในการเคลื่อนย้ายเป็นแบบไหน จํากัดไหม
และลักษณะของพื้นเป็นอย่างไร เรียบหรือขรุขระ ลื่นหรือหยาบ ได้ระนาบหรือไม่ สิ่ง เหล่านี้ล้วนจําเป็นในการออกแบบโครงสร้างทั้งสิ้น
2. Motor & Drive หรือชุดขับเคลื่อนนั่นเอง ซึ่งจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานของเรา
จะเลือก ขับเคลื่อน 2 ล้อ
หรือจะเลือกขับเคลื่อน 1 ล้อและบังคับเลี้ยว 1 ล้อ ก็ได้ ในการออกแบบชุด ขับเคลื่อนจะขนอยู่กับน้ำหนักทั้งหมดเพื่อเลือกขนาดมอเตอร์
ความแม่นยํา, ราคา, ลักษณะการ ควบคุมที่ต้องการก็มีผลต่อการเลือกชนิดของมอเตอร์ลักษณะการส่งกําลังจะใช้แบบโซ่
หรือสายพาน ก็มีข้อเด่นข้อด้อยแตกต่างกัน เช่นน้ำหนักบรรทุกที่เท่ากนหากเลือกใช้โซ่ก็จะต้นทุนต่ำ
แต่เสียงดัง ต้องบํารุงรักษา แต่หากเลือกใช้สายพานก็จะราคาสูงกว่า แต่เงียบและไมต้องบํารุงรักษา
แต่ไม่แนะนํา กิจกรรมศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม
5 | Page Thai-German Institute สถาบันไทย-เยอรมัน ให้ต่อตรงเพราะอาจเกิดความเสียหายแก่มอเตอร์ได้
ส่วนพื้นที่ในการติดตั้งก็จําเป็นเพราะในการ ออกแบบเราก็ต้องการให้รถAGVเล็กที่สุดเท่าที่จะทําได้
ดังนั้นจุดขับเคลื่อนก็จะต้องเล็กที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ และที่ขนาดไม่ได้ก็คือการเลือกใช้ล้อขับเคลื่อนให้เหมาะสม
ต้องไม่ลื่นจนไม่มีความ เสียดทาน หรอความเสียดทานสูงจนเข็นรถAGVตัวเปล่าไม่ไป
3.
Power Supply หรือแบตเตอรี่นั่นเองโดยปกติแล้วอุปกรณ์ที่มีใช้ในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก็จะ เป็นไฟ
24V ในการเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่ขนาดของการกินไฟของรถAGVแต่ละตัว จะเลือกแบตเตอรี่ไฟ 12V มาต่ออนุกรมกัน
หรือจะเลือกแบตเตอรี่ไฟ 24v เลยก็ได้จะเลือกแบตเตอรี่น้ำ
กึ่งแห้ง หรือแห้ง ก็ได้ แต่ละแบบก็มีข้อเด่นข้อด้อยต่างกัน
แต่ให้พิจารณาเรื่องขนาดของกําลังไฟเป็นสําคัญเพื่อให้ AGVวิ่งได้นานเท่าที่ไลน์ยังทํางาน
เช่น ทํางานกะละ 8ชม. รถAGV ก็ควรวิ่งต่อเนื่องได้
8ชม. ราคา และการบํารุงรักษาก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องคํานึง
ถ้าต้องการต้นทุนในการซื้อแบตเตอรี่ที่ต่ำก็คงหนีไม่พ้น แบตเตอรี่น้ำ
แต่อย่าลืมว่าต้องบํารุงรักษาให้ดีไม่งั้นแบตเตอรี่ก็จะเสื่อมง่าย วิธีการชาร์ทก็สําคัญไม
ั ่ แพ้กันจะยกลงชาร์ท หรือจะเสียบชาร์ท หรือจะชาร์ทอัตโนมัติ
ก็ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ ถ้ายกออก ชาร์ท ก็ต้องมีแบตเตอรี่สํารอง
และออกแบบโครงสร้างให้ง่ายแก่การถอดชาร์ท แต่ถ้าจะเสียบชาร์ท ระหว่างนั้นจะใช้รถAGVอีกตัว หรือสามารถหยุดรับส่งได้ผู้ออกแบบต้องคิดให้รอบด้าน
4. Controller หรือชุดควบคุม หรือสมองของรถAGVซึ่งจะเลือกใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์พีแอลซีบอร์ด คอมพิวเตอร์
ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ออกแบบหรือความต้องการของแต่ละโรงงาน ความยากง่าย ของการทําโปรแกรมของผู้ออกแบบ
ต้นทุน กําลังไฟฟ้าที่ต้องใช้และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่นผู้ออกแบบใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์
ข้อเด่นเลยก็คือทําโปรแกรมง่าย ต้นทุนต่ํา ใช้กระแสไฟน้อย เพราะใช้ไฟ 5V คัดลอกโปรแกรมไม่ได้ แต่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกยุ่งยากกว่าเพราะอุปกรณ์ ภายนอกใช้ไฟ
24V หรอหากเลือกใช้พีแอลซแนอนว่าต้นทุนจะสูงกว่า
และที่ตามมาก็คือจะกิน กระแสไฟสูงกว่า
แต่จะสะดวกกับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเพราะใช้ไฟ 24V เหมือนกัน
5. Sensor หรืออุปกรณ์นําทางนั่นเอง
ซึ่งมีให้เลือกหลายชนิด เช่น
เซ็นเซอร์สีอนฟาเรดเซ็นเซอร์ เซ็นเซอร์แม่เหล็ก และที่ออกมาใหม่ล่าสุดก็คือ เนวิเกเตอร์
ซึ่งจะเรียงลําดับตามความเสถียรและ ราคาจากน้อยไปหามาก
และแต่ละชนิดก็มีข้อเด่นข้อด้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบจะเลือกใช้ ซึ่งเซ็นเซอรส์
และอินฟาเรด จะใช้งานไม่เสถียรหากมแสงรบกวน ี หรือหากแสงสว่างไม่นิ่งการส่งค่าก็ จะเพี้ยน
ส่วนเซ็นเซอรแม่เหล็กหากบางโรงงานฝังแม่เหลกไวที่พื้นก็จะไม่สามารถใช้ได้เพราะเซ็นเซอร์
ตรวจจับสัญญาณสับสนแยกไม่ออกว่าส่วนไหนคือเส้นแม่เหล็กนําทางหรือพื้น
สุดท้ายเนวิเกเตอร์ ข้อด้อยที่สําคัญเลยก็คือราคาที่สูงมากนั่นเอง ในที่นี้ยังมีเซ็นเซอร์สาหรับงานความปลอดภัยที่ควร
คํานึง เพื่อป้องการการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ลมิิตสวิทซส์สำหรับการชนสิ่งของ
อัลตร้าโซนิคแกนเนอร์เพื่อตรวจจับวัตถุก่อนจะถึงตัวรถAGV แล้วส่งสัญญาณเตือนหรือลดความเร็วของรถAGV ลงเพื่อกรณีฉุกเฉินต้องเบรกกระทันหัน
VDO
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น